รู้ทัน 12 กลโกงในการขายที่ดิน
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านและที่ดิน เป็นการทำธุรกิจที่มีมูลค่าสูงจึงมักมีเกิดขึ้นเสมอ ในแง่ของการลงทุนถือเป็นความเสี่ยงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่เราก็สามารถป้องกันตนเองจากปัญหาเหล่านี้ได้เช่นกัน รู้ทัน 12 กลโกงในการขายที่ดิน เป็นสิ่งที่ทำให้นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความละเอียดรอบคอบมากยิ่งขึ้น
รู้ทัน 12 กลโกงในการขายที่ดิน
1. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินนำโฉนดของตนเองไปประกันเงินกู้ โดยไม่ได้จดทะเบียนจำนอง แล้วมาขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน โดยอ้างว่าโฉนดที่ดินสูญหายเมื่อได้รับใบแทนโฉนดที่ดินแล้ว ก็นำไปจดทะเบียนขาย ขายฝาก หรือจำนองผู้อื่นต่อไป ทำให้เกิดปัญหาเจ้าของเงินต้องฟ้องศาลให้สั่งเพิกถอนใบแทนเพื่อให้โฉนดเดิมมีผลต่อไป ส่วนผู้ซื้อที่ดินหรือผู้รับจำนองใบแทนโฉนดซึ่งถูกเพิกถอน ก็ต้องฟ้องร้องไล่เบี้ยเอาจากเจ้าของที่ดินเดิมอีกที
2. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทำสัญญาซื้อขายที่ดินรับเงินไปแล้วบางส่วนหรือทั้งหมด ให้ผู้อื่นครอบครองที่ดินก่อนแล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ภายหลัง ต่อมาผู้ถือกรรมสิทธิ์นำโฉนดไปจดทะเบียนให้แก่ผู้ซื้ออื่นอีก
3. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหลอกลวงผู้ซื้อ โดยการชี้ที่ดินที่ขายให้ผิดกับความเป็นจริง
4. ผู้ถือกรรมสิทธิ์แบ่งขายที่ดินเป็นแปลงๆด้วยวิธีผ่อนชำระ และนัดจดทะเบียนโอนเมื่อชำระหมดแล้ว เมื่อถึงเวลาที่จะมีการจดทะเบียนโอน ปรากฏว่าที่ดินโอนเป็นชื่อผู้อื่นไปแล้ว
5. ผู้ทุจริตอ้างตัวเป็นเจ้าของโครงการ โดยแอบอ้างเอาที่ดินของคนอื่นมาปักป้ายประกาศสร้างโครงการบ้านจัดสรร เปิดสำนักงานชั่วคราวและมีการโฆษณาให้จองบ้าน เมื่อผู้จองจ่ายเงินมัดจำหรือจ่ายเงินดาวน์จากนั้นก็เชิดเงินหนีหายไป โดยไม่มีการทำโครงการแต่อย่างใด
6. ผู้ทุจริตเป็นเจ้าของโครงการหมู่บ้านจัดสรร แต่ไม่ทำตามประกาศหรือที่โฆษณาไว้ เช่น โฆษณาว่าจะตัดถนนให้ สร้างสวนสาธารณะหรือสนามเด็กเล่น และอื่นๆ แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วกลับนำที่ดินดังกล่าวไปหาประโยชน์ส่วนตัว เช่นให้บุคคลอื่นเช่าทำตลาดนัด
7. หลอกลวงหรือลักเอาโฉนดที่ดินของผู้อื่นมาแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้เป็นชื่อของตน แล้วนำไปประกันเงินกู้หรือทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้อื่น
8. หลอกลวงหรือลักเอาโฉนดที่ดินของผู้อื่นมา แล้วทำใบมอบอำนาจปลอมชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ขายให้ผู้อื่น
9. หลอกลวงเอาโฉนดที่ดินและใบมอบอำนาจของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ลงชื่อไว้โดยมิได้กรอกข้อความใดๆ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์ตั้งใจมอบอำนาจให้จำนองหรือขอสอบเขต แต่ผู้รับมอบอำนาจทุจริตนำมากรอกข้อความให้เป็นเรื่องจดทะเบียนขายหรือขายฝาก
10. หลอกลวงเอาโฉนดที่ดินผู้อื่นมาปลอมตัวว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินมาขอจดทะเบียนขาย โดยปลอมลายเซ็นและปลอมบัตรประจำตัวประชาชน ปัญหารูปแบบนี้มักเกิดขึ้นจากคนใกล้ชิดโดยเจ้าของโฉนดเชื่อใจ
11. ผู้ทุจริตกระทำตนเป็นนายหน้าวิ่งเต้นขายที่ดินให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยขอค่านายหน้าแล้วหลอกให้เจ้าของที่ดินเซ็นสัญญามัดจำผูกมัดให้โอนที่ดินให้ก่อน โดยยอมชำระเงินเป็นบางส่วนที่เหลือจะชำระภายหลัง จากนั้นจะสมคบกับผู้ซื้อ ผู้รับจำนอง หรือผู้รับซื้อฝากจดทะเบียนที่ดินนั้นต่อไปโดยไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือ
12. ผู้ซื้อไม่ยอมชำระเงินค่าที่ดินให้ครบถ้วนเมื่อได้รับการโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือกลโกงที่เกิดขึ้นบ่อยๆ รู้ทัน 12 กลโกงในการขายที่ดิน คือการเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน ซึ่งเปรียบเหมือนการสร้างเกาะป้องกันจากกลโกงต่างๆเหล่านี้ นั้นเอง